เรือนไม้ยกพื้นโบราณ หลังคามุงจาก ทรงไทย-มาลายู จ.สตูล

4821

เรือนไม้มุงจาก

ชม เรือนไม้ยกพื้นโบราณ หลังคามุงจาก ทรงไทย-มาลายู สร้างมาตั้งแต่ปี 2492 เป็นเรือนเครื่องสับ* ที่มุงหลังคาจากมาแต่แรกสร้าง ปัจจุบันก็ยังคงมุงจาก เรือนหลังนี้ตั้งอยู่ที่เลขที่ 5 หมู่ 9 บ้านหัวเขา ตำบลฉลุง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล เจ้าของปัจจุบันคือนางอ้ะ เจ้ะสัน อายุ 68 ปี แต่ผู้สร้างเรือนหลังนี้เป็นพ่อสามีของนางซึ่งถึงแก่กรรมไปนานแล้ว เจ้ะอ้ะบอกว่า “ที่ไม่เปลี่ยนเป็นหลังคาอย่างอื่นเพราะหลังคาจากทำให้บ้านเย็นสบาย”

สถาปัตยกรรมดั้งเดิมของเรือนหลังนี้คือเรือนไทรบุรี ( Rumah Kedahan : รูม้ะห์ เคอดาฮาน ) แต่ถูกต่อเติมนอกชานหน้าบ้านเป็นระเบียงไว้ใช้สอย และต่อเติมหลังบ้านไว้สำหรับทำครัว จึงทำให้ดูเหมือนเป็นเรือน*หลังคาบลานอ

บ้านหลังคามุงจากหาดูได้ยากในปัจจุบัน เรือนหลังนี้จึงเป็นเรือนดั้งเดิม เป็นมรดกสถาปัตยกรรมแบบ “บ้าน ๆ” ของสตูล ที่หาชมได้ยากจริง ๆ

เรือนหลังคาจากบ้านหัวเขา เดิมเป็นสถาปัตยกรรมแบบเรือนไทรบุรี แต่ถูกต่อเติมระเบียงหน้าบ้านไว้ใช้สอย (ซ้ายมือ)
เรือนไม้ยกพื้นโบราณ หลังคามุงจาก ทรงไทย-มาลายู จ.สตูล

หน้าต่างยาวจากพื้นถึงเพดาน เอกลักษณ์เรือนมลายูในสตูล ลูกกรงหน้าต่างทำจากไม้กระดานหน้ากว้าง 6 นิ้วนำไปฉลุลายแล้วนำมาประกอบเป็นลูกกรงหน้าต่าง
เรือนไม้ยกพื้นโบราณ หลังคามุงจาก ทรงไทย-มาลายู จ.สตูล

ระเบียงหลังบ้านที่ถูกต่อเติม เพื่อใช้เป็นครัว
เรือนไม้ยกพื้นโบราณ หลังคามุงจาก ทรงไทย-มาลายู จ.สตูล

แนวเสาบ้านและตีนเสา
เรือนไม้ยกพื้นโบราณ หลังคามุงจาก ทรงไทย-มาลายู จ.สตูล

ด้านหน้าของเรือนมลายู เห็นจานรับสัญญานดาวเทียมบนหลังคา และรถแทรกเตอร์สีแดงจอดอยู่ที่โรงรถขวามือของภาพ เป็นตัวเฉลยว่า ทำไมเจ้าของบ้านจึงรักษาหลังคาจากของบ้านไว้ได้
เรือนไม้ยกพื้นโบราณ หลังคามุงจาก ทรงไทย-มาลายู จ.สตูล

ส่วนต่อเติมด้านหน้า ทำให้หลังคาจั่วของเรือนไทรบุรีกลายเป็นเรือนหลังคาบลานอ* ขวามือคือส่วนครัวของบ้านหลังใหญ่ของเจ้ะอ้ะ
เรือนไม้ยกพื้นโบราณ หลังคามุงจาก ทรงไทย-มาลายู จ.สตูล

บันไดและชานพักของส่วนที่ถูกต่อเติม
เรือนไม้ยกพื้นโบราณ หลังคามุงจาก ทรงไทย-มาลายู จ.สตูล

บันไดด้านหลัง ส่วนนี้เป็นห้องครัว
เรือนไม้ยกพื้นโบราณ หลังคามุงจาก ทรงไทย-มาลายู จ.สตูล

*เรือนเครื่องสับ คือ เรือนที่สร้างจากไม้แปรรูป มีการประกอบชิ้นส่วนต่าง ๆ เข้าด้วยกันโดยการ “เข้าไม้”.โบราณใช้วิธีเจาะรูเป็นสี่เหลี่ยมและทำเดือยประกอบเข้ากัน
เรือนเครื่องสับจะมีเสาสี่เหลี่ยมฝาและพื้นเป็นไม้กระดาน ปกติเรือนเครื่องสับมักจะมุงหลังคาด้วยกระเบื้องหรือสังกะสี

*หลังคาบลานอ หรือ หลังคาจั่วมนิลา หลังคาแบบนี้เชื่อว่าได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมของชาวฮอลันดา เป็นหลังคาที่มีโครงสร้างเช่นเดียวกับหลังคาปั้นหยา แต่เป็นหลังคาที่มีจั่วติดอยู่ เพื่อระบายอากาศและดูสวยงาม หลังคาบลานอนี้จะมีรูปแบบที่สวยงามกว่าแบบอื่น เหมาะที่จะมีจั่วอย่างน้อย 3 จั่ว โดยมีหลังจั่วแฝด และมีจั่วขนาดเล็กสร้างคลุมเฉลียงหน้าบ้านติดกับบันไดทางขึ้น เพื่อใช้รับรองแขกอย่างไม่เป็นทางการ นอกยากนั้น ช่างไม่ยังแสดงฝีมือเชิงช่างในการประดิษฐ์ลวดลายด้วยการแกะสลักไม้ ปูนปั้น เป็นลวดลายประดับลวดลายประดับยอดจั่ว และมีการเขียนลายบนหน้าจั่ว หรือตีไม้ให้มีลวดลายเป็นแสงตะวัน
ที่มา: ว่าด้วยเรื่องของหลังคาแบบไทย

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก
คุณศมานนท์ พฤกษ์พิเนต ผู้ดูแลกลุ่มเฟซบุ๊ก “ประวัติศาสตร์สตูล”

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบ้านมาลายู(บ้านมาเลย์)
wikipedia.org/wiki/Malay_houses

บทความก่อนหน้านี้บ้านไม้สองชั้นสไตล์บาหลี มีระเบียงชมวิวสวนชั้นบน ตกแต่งด้วยไม้ไผ่สวยงาม
บทความถัดไปไอเดียสร้างบ้าน รีสอร์ท สไตล์โมเดิร์นลอฟท์ ผนังปูนเปลือย ไม้เก่า รูปอาร์ต